การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย
พึ่งเรียนจบใหม่ๆ พึ่งสร้างบ้านใหม่ พึ่งเริ่มต้นการมีครอบครัวใหม่ การเริ่มต้นบางครั้งก็ไม่ได้เรียบง่ายเสมอไป มักมีปัญหาจุกจิกกวนใจเข้ามา สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จำเป้นต้องมีารติดตั้ง และมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ ผู้ใช้งานจึงต้องศึษาข้อมูลให้ครบถ้วน่อนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอาาศ โดยครั้งเราจะมาแนะนำขั้นตอนการเลือกซื้อเครื่องปรับอาศสักตัวเพื่อนำมาติดตั้งภายในบ้าน
1.หาค่าพื้นที่ของห้องเพื่อนำไปเลือกขนาด BTU
ก่อนอื่นเราต้องมาหาขนาดความกว้างของห้องให้ได้กันก่อน โดยเริ่มต้นจากการนำความกว้าง x ความยาว ของห้อง
เช่น กว้าง 2 เมตร ยาว 8 เมตร (2 x 8 = 16 ) จะได้ค่าตารางเมตรออกมาที่ 16 ตารางเมตรซึ่งค่าพื้นที่ตรงนี้จะถูกนำไปใช้ในการเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้องต่อไป
2.เลือกขนาด BTU ที่ใช่ ให้พอดีกับขนาดห้อง
เมื่อเราได้ขนาดพื้นที่ของห้องมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือก BTU ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง แล้ว BTU คืออะไร?
BTU หรือ "British Thermal Unit" คือหน่วยความเย็นของแอร์ โดยจะมีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 9000 BTU ไปจนถึง 25000 BTU สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบติดผนัง ยิ่งตัวเลข BTU มาก ความสามารถในการทำความเย็นก็จะมาก แต่ถ้าหากตัวเลข BTU น้อย ความสามารถในการทำความเย็นก็จะน้อยตามไปด้วยทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละห้องด้วย แต่ถ้าหากเราเลือก BTU ไม่เหมาะสมกับขนาดห้อง ก็จะทำให้เกิดผลเสียต่างๆตามมา เช่น การกินไฟมากขึ้น อายุการใช้งานเครื่องปรับอากาศสั้นลง ฉะนั้นการเลือก BTU ให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ที่เริ่มต้นใช้งานเครื่องปรับอากาศควรทราบ
3.เลือกประเภท (Type) ของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับกับการใช้งาน
สำหรับประเภทของเครื่องปรับอากาศนั้นจะมีอยู่ 6 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1.แอร์ติดผนัง (Wall type)
เป็นเครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย ขนาดเล็ก กระทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก เช่นห้องนอน ห้องรับแขก อพาร์ตเม้นต์ขนาดเล็ก ห้องรับแขกขนาดเล็ก ห้องทำงาน ห้องนั่งเล่น หรือตู้คอนเทนเนอร์ออฟฟิศ
ข้อดี: รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย เงียบ ติดตั้งง่าย
ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
2.แอร์ตั้งแขวน (Ceiling/floor type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็ก เช่น ห้องนอน ไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม ห้องนอนขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น หรือห้องที่มีขนาดกว้างและมีผู้ใช้งานภายในห้องจำนวนมากๆ ซึ่งเครื่องปรับอากาศแบบตั้งแขวน สามารถติดตั้งได้ทั้งบนพื้นห้อง หรือแขวนไว้ที่ผนังโดยใช้ขามายึดไว้ มีทั้งแบบที่มีรีโมท และรีโมทติดตั้งไว้ที่ผนัง สะดวกต่อการใช้งานในหลายๆรูปแบบ
ข้อดี: สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่ การระบายลมดี
ข้อเสีย: ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก แอร์มีขนาดใหญ่กว่าแบบติดผนัง ไม่กะทัดรัดในบางพื้นที่
3.แอร์แบบตั้งตู้ (Package type) เป็นเครื่องปรับอากาศ ที่มีลักษณะคล้ายตู้ มีขนาดสูง รูปลักษณ์สวยงามหลากหลายดีไซน์ และมีกำลังลมที่แรง เหมาะกับบริเวณที่มีคนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้องประชุม โรงแรม
ข้อดี: ติดตั้งง่าย โดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องทำการยึด ทำความเย็นได้เร็วเนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมที่ใหญ่ ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า
ข้อเสีย: เสียพื้นที่ใช้สอยบางส่วนภายในห้องไป เนื่องจากมีขนาดค่อนข้างใหญ่
4.แอร์ฝั่งเพดาน หรือแอร์สี่ทิศทาง (Built-in type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่เน้นความสวยงามโดยการซ่อน หรือฝังอยู่ใต้ฝ้าหรือเพดานห้อง เหมาะกับห้องที่ต้องการเน้นความสวยงาม โดยที่ต้องการให้เห็นเครื่องปรับอากาศน้อยที่สุด นิยมใช้กับออฟฟิศที่มีขนาดใหญ่ คนใช้งานจำนวนมากๆ บางที่มีการนำไปติดในผับ หรือบาร์ โดยการวางโครงเหล็กแบบเปลือยแล้วนำแอร์ไปยึดติดไว้
ข้อดี: สวยงาม โดยสามารถทำตู้ซ่อน หรือ ฝังเรียบไว้บนเพดานห้อง
ข้อเสีย: ติดตั้งยาก เนื่องจากต้องทำการฝังเข้าตู้ หรือเพดานห้อง การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก
5.แอร์แบบหน้าต่าง (Window type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่รวมทั้ง คอนเดนซิ่ง ยูนิต และ แฟนคอยล์ ยูนิต อยู่ในเครื่องเดียว ซึ่งสามารถติดตั้งโดยการฝังที่กำแพงห้องได้เลย โดยที่ไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ดังนั้นการติดตั้งจึงต้องติดตั้งบริเวณช่องหน้าต่างหรือเจาะช่องที่ผนังแข็งแรง
ข้อดี: ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ติดตั้งง่ายเพราะไม่ต้องเดินท่อน้ำยา ประสิทธิภาพในการทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา
ข้อเสีย: มีเสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัวเครื่องและผนัง
ถ้าเครื่องมีขนาดขนาดใหญ่เกินไปจะมีปัญหาในการติดตั้ง เพราะบริเวณเพราะบริเวณช่องหน้าต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้
6.แอร์เคลื่อนที่ (Portable type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่ไม่ต้องทำการติดตั้ง และสามารถเข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่ พูดง่ายๆก็คือสามารถเสียบปลั๊กไฟตามบ้านแล้วใช้ได้เลย
ข้อดี: ขนาดกะทัดรัด ไม่ต้องติดตั้ง สามารถเข็นไปได้ใช้ได้ทุกพื้นที่ ทั้งในห้อง และกลางแจ้ง
ข้อเสีย: ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า เนื่องจากเป็นระบบเปิดเมื่อนำไปใช้กลางแจ้ง
4.เลือกดูที่ฉลากประหยัดไฟเบอร์5
สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นที่พบเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไปจะนิยมนำไปผ่านการทดสอบต่างๆ และมาตรฐานการทดสอบที่เป้นที่รู้จักกันก็คคือมาตรฐานจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ของกระทรวงพลังงาน
ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 คือฉลากที่บ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้าและข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ ของเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีการเริ่มใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยในปี พ.ศ. 2562 กระทรวงพลังงานได้ปรับปรุงฉลากประหยัดไฟใหม่ทั้งหมด โดยยกเลิกระดับความประหยัดเบอร์ 1 ถึงเบอร์ 4 คงไว้เพียงเบอร์ 5 แต่เพิ่มสัญลักษณ์ดาวที่จะระบุระดับคะแนนการประหยัดไฟเข้าไปแทน โดยยิ่งมีดาวมาก จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากขึ้นดวงละ 5-10% โดยฉลากประหยัดไฟชนิดตอดดาว มี 4 ระดับ คือเบอร์ 5, 1 ดาว, 2 ดาว และ 3 ดาว สำหรับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 บนเครื่องปรับอากาศนั้นจะมีข้อมูลต่างๆเพื่อช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้ออย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่น ชื่อรุ่น,ขนาด BTU,ค่าไฟฟ้า บาท/ปี,ค่า SEER,จำนวนดาว,ชื่อโมเดล
5.เลือกจากคุณสมบัติพิเศษและดีไซน์
สำหรับเครื่องปรับอากาศในยุคปัจจุบันนั้นจะมีฟังก์ชั่นและคุณสมบัติต่างๆให้เลือกหลาย และบางรุ่นจะถูกพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ฟังก์ชั่นที่โดดเด่นได้แก่ การกรองฝุ่น Pm2.5 การยับยั้งเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรียต่างๆ การทำความสะอาดตัวเอง เพื่อให้การใช้เครื่องปรับอากาศที่ทำหน้าที่ส่งลมเย็นๆเข้าในห้องเกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในส่วนของการดีไซน์ยิ่งยุคนี้การทำงาน หรือการเรียนที่บ้านเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประวันมากขึ้น บางท่านอาจจะมีธุรกิจออนไลน์ของตัวเอง มีการใช้เวลาว่างในการตกแต่งห้อง การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับรูปแบบและสไตล์ของห้องจึงเป็นส่วนสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศสักตัวมาไว้ในบ้าน เพราะเครื่องปรับอากาศนั้นจะต้องถูกใช้งานไปยาวนานประมาณ 5-10 ปี
6.ดูที่การรับประกัน และการบริการหลังการขาย
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศคงหนีไม่พ้นเรื่องกของการรับประกัน และการบริการหลังขาย สำหรับการรับประกันนั้นแต่ละแบรนด์จะมีรูปแบบและเงื่อนไขของการรับประกันแตกต่างกันออกไป
ซึ่งการรับปะกันจะช่วยเซฟค่าใช้จ่ายของผู้ใช้งานในกรณีเครื่องเกิดปัญหาต่างๆได้ การบริการหลังการขายก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อเครื่องมีปัญหา จะต้องติดต่อช่องทางไหน รวดเร็วมากน้อยแค่ไหน เเต่สำหรับแอร์มาเวลนั้น สามารถแจ้งปัญหาการใช้งานได้หลายช่องทาง พร้อมดูแลผู้ใช้งานเครื่องปรับอากาศทุกๆท่านให้ใช้เครื่องปรับอากาศได้อย่างสบายใจ ซ่อมไว เคลมไว เพื่อคนไทยอย่างแท้จริง
7.หาช่องทางการซื้อ และเปรียบเทียบราคา
เมื่อเราได้ข้อมูลคร่าวๆของเครื่องปรับอากาศที่ต้องการแล้ว ต่อไปคือการหาช่องทางการซื้อ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าตัวแทนจำหน่าย เว็บไซต์ต่างๆที่มีมากมายให้เลือกสรร ซึ่งแต่ละร้านจะมีโปรโมชั่น ของแถมๆต่างๆให้พิจารณาเลือกซื้อ สำหรับราคาของแต่ละรุ่น เเต่ละขนาดก็จะแตกต่างกันออกไป ทางที่ดีให้สอบถามกับผู้จัดจำจ่ายเครื่องปรับอากาศโดยตรง เพื่อให้ได้เครื่องปรับอากาศที่มีคุณภาพและเหมาะสมไว้ใช้ได้อย่างยาวนานและเต็มประสิทธิภาพอย่างมากที่สุด