นอนมาก นอนน้อย แล้วนอนแค่ไหนถึงเรียกว่าเพียงพอ?
ในปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์เราส่วนใหญ่ใช้เวลาในตอนกลางวันไปกับการทำงาน และใช้เวลาในตอนกลางคืนไปกับการนอนหลับพักผ่อน แต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่เลือกทำงานพิเศษหลังจากทำงานประจำหรือหมดเวลาไปกับการใช้ชีวิตไปกับการทำกิจกรรมต่างๆในยามค่ำคืน เมื่อโลกใบนี้มีไฟฟ้า และสัญญาณอินเตอร์เน็ตวิถีชีวิตของมนุษย์จึงถูกปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งต่างๆรอบตัวมากยิ่งขึ้น เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างไม่พียงพอมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
อันตรายจากการนอนหลับไม่เพียงพอ...
กระทบต่อกระบวนการคิด การนอนหลับมีบทบาทสำคัญต่อการคิดและการเรียนรู้ หากร่างกายพักผ่อนน้อยอาจส่งผล
กระทบต่อกระบวนการคิดได้ โดยจะทำให้ความตื่นตัว ความสามารถในการใช้เหตุผล ทักษะการแก้ปัญหา และสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้
นำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายอย่าง ผู้ที่นอนน้อยหรือประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับเรื้อรัง เสี่ยงป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคหัวใจวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวาน หรือแม้แต่กระทั่งการมีความต้องการทางเพศลดลง ก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า ผิวเสียลง ผู้ที่ไม่ได้นอนติดต่อกัน 2-3 คืน มักมีผิวเหี่ยวและตาบวม โดยผู้ที่อดนอนติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีรอยย่นและรอยคล้ำรอบดวงตาร่วมด้วย ขี้ลืมง่าย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจ ภาวะนอนน้อยส่งผลต่อการทำความเข้าใจและประเมินสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อต้องเผชิญเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่ต้องตัดตินใจ ผู้ที่นอนน้อยจะตัดสินใจไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถประเมินสถานการณ์โดยรวมได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ตัดสินใจโต้ตอบได้ไม่ดี เสี่ยงการเกิดประสาทหลอน และอุบัติเหตุจากการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
แล้วเราต้องนอนแค่ไหนถึงเรียกว่าเพียงพอ
หลายๆท่านคงได้ยินกันมากันบ้างเเล้วว่าการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อวันคือ 8 ชั่วโมง แต่นั่นเป็นเพียงค่าเฉลี่ยเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิตมนุษย์มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนมากขึ้น บางคนทำงานตอนกลางคืน แล้วจึงได้นอนในช่วงกลางวัน บางคนต้องทำงานพิเศษในช่วงกลางคืนทำให้มีเวลาพักผ่อนได้ไม่มากเท่าที่ควร
เนื่องจากร่างกายมนุษย์มีความซับซ้อนและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่ต่างออกไป การพักผ่อนอย่างเพียงพอก็คือ การนอนจนร่างกายเรารู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเอง และสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่เพลียเลยตลอดทั้งวัน มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ(Nation Sleep Foundation) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุค่าเฉลี่ยระยะเวลาของการนอนหลับที่เหมาะสมเอาไว้ดังนี้
- อายุ 0-3 เดือน ควรนอนวันละ 14-17 ชั่วโมง
- อายุ 4-11 เดือน ควรนอนวันละ 12-15 ชั่วโมง
- อายุ 1-2 ปี ควรนอนวันละ 11-14 ชั่วโมง
- อายุ 3-5 ปี ควรนอนวันละ 10-13 ชั่วโมง
- อายุ 6-13 ปี ควรนอนวันละ 9-11 ชั่วโมง
- อายุ 14-17 ปี ควรนอนวันละ 8-10 ชั่วโมง
- อายุ 18-25 ปี ควรนอนวันละ 7-10 ชั่วโมง
- อายุ 26-64 ปี ควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง
การนอนหลับให้เพียงพอจะส่งผลดีต่างๆให้กับร่างกายมากมาย อย่างเช่น ช่วยให้ไม่รู้สึกอ่อนล้า ร่างกายผ่อนคลาย ไม่มีความเครียด
สภาพแวดล้อมรอบตัวที่เหมาะสมในการนอน
การนอนหลับเเต่ละครั้งมักมีสิ่งเร้าต่างๆที่อาจจะมากระทบกับการนอนหลับอย่างเช่น แสงไฟ หรือเสียงดังต่างๆ การนอนหลับพักผ่อนให้ดีและเต็มที่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การจัดการสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวให้ช่วยเอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อนมากยิ่งขึ้น
- ปิดม่านบังเเสงและทำให้ห้องมืดที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์อย่างเช่น ผ้าปิดตา
- ล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น เปิดเพลงเบาๆฟังเพื่อลดความเครียดในสมองให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย
- ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนจากข้างนอกบางครั้งเราไม่อาจจะไปจัดการเลยอาจจะต้องใช้อุปกรณ์ในการอุดหูอย่าง EarPlug มาใช้เพื่อช่วยตัดเสียงรบกวน
- พยายามลดการใช้อุกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆอย่างโทรศัพท์มือถือ
- แสงรบกวนจากหน้าจอบนเครื่องปรับอากาศบางครั้งอาจจะส่งผลต่อการนอนหลับได้
เทคนิคการปิดแสงไฟจากเครื่องปรับอากาศด้วยปุ่ม "Display"
อ้างอิง: https://today.line.me/th/v2/article/37rZzo
http://infographic.in.th
https://www.bangkokinternationalhospital.com